เมนู

อนึ่ง ในทางธรรม บทว่า วุฑฺฒึ คือเจริญด้วยความประพฤติธรรมที่ยังไม่
เคยประพฤติ. บทว่า วิรุฬฺหึ คืองอกงามด้วยการทำกิจให้สำเร็จ. บทว่า
เวปุลฺลํ คือความไพบูลย์ด้วยสำเร็จกิจแล้ว. ปาฐะว่า วิปุลฺลตฺตํ คือความ
เป็นผู้ไพบูลย์บ้าง.
อีกอย่างหนึ่ง บท 3 เหล่านั้นประกอบด้วยศีล สมาธิ ปัญญา.

อรรถกถามัคคังคนิเทศ


พึงทราบวินิจฉัยในสุตตันตนิเทศ ดังต่อไปนี้. บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิยา
เป็นฉัฏฐีวิภัตติ แห่งสัมมาทิฏฐิอันเป็นไปอยู่ จากการประกอบตามสมควร
และจากอารมณ์ ในฌาน วิปัสสนา มรรค ผล และนิพพาน และในจิต
อันสัมปยุตด้วยโลกิยวิรัติ คือแห่งสัมมาทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน โดยเป็นสามัญ-
ลักษณะ. บทว่า วิกฺขมฺภนวิเวโก วิกขัมภนวิเวก คือความสงัดด้วยการ
ข่มไว้ ด้วยการทำให้ไกล แห่งอะไร แห่งนิวรณ์ทั้งหลาย. บทมีอาทิว่า
ปฐมชฺฌานํ ภาวยโต เจริญปฐมฌาน ท่านกล่าวถึงปฐมฌานด้วยการข่มไว้
เมื่อท่านกล่าวถึงปฐมฌานนั้น ก็เป็นอันกล่าวถึงแม้ฌานที่เหลือด้วยเหมือนกัน.
ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิวิเวก เพราะมีสัมมาทิฏฐิแม้ในฌานทั้งหลาย.
บทว่า ตทงฺควิเวโก คือความสงัดด้วยวิปัสสนาญาณนั้น ๆ. บทว่า
ทิฏฺฐิคตานํ ทิฏฐิทั้งหลาย ท่านกล่าวว่า ทิฏฐิวิเวก เพราะทิฏฐิวิเวกทำได้ยาก
และเพราะเป็นประธาน เมื่อท่านกล่าวถึงทิฏฐิวิเวกก็เป็นอันกล่าวแม้วิเวกมี
นิจจสัญญาเป็นต้น. บทว่า นิพฺเพธภาคิยํ สมาธึ สมาธิอันเป็นส่วนแห่ง

การทำลายกิเลส คือ สมาธิสัมปยุตด้วยวิปัสสนา. บทว่า สมุจฺเฉทวิเวโก
สมุจเฉทวิเวก คือ ความสงัดด้วยการตัดขาดกิเลสทั้งหลาย. บทว่า โลกุตฺตรํ
ขยคามึ มคฺคํ
โลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป คือโลกุตรมรรคอันให้
ถึงนิพพาน กล่าวคือความสิ้นไป. บทว่า ปฏิปฺปสฺสทฺธิวิเวโก ปฏิปัสสัทธิ-
วิเวก คือ ความสงัดในการสงบกิเลสทั้งหลาย. บทว่า นิสฺสรณวิเวโก
นิสสรณวิเวก คือความสงัดสังขารอันเป็นการนำสังขตธรรมทั้งหมดออกไป.
บทว่า ฉนฺทชาโต โหติ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ คือเป็นผู้เกิดความพอใจ
ในธรรมในส่วนเบื้องต้น. บทว่า สทฺธาธิมุตฺโต คือเป็นผู้น้อมไปด้วยศรัทธา
ในส่วนเบื้องต้น. บทว่า จิตฺตํ จสฺส สฺวาธิฏฺฐิตํ มีจิตตั้งมั่นด้วยดี คือจิต
ของพระโยคาวจรนั้นตั้งมั่นด้วยดี คือมั่นคงด้วยดีในส่วนเบื้องต้น. ธรรม 3
ประการเหล่านี้ คือ ฉันทะ 1 สัทธา 1 จิต 1 ชื่อว่าเป็นที่อาศัย เพราะ
เป็นที่เข้าไปอาศัยแห่งวิเวกอันเกิดขึ้นแล้วในส่วนเบื้องต้น. แต่อาจารย์บางพวก
กล่าวว่า ท่านกล่าวสมาธิว่า มีจิตตั้งมั่นด้วยดี แม้ในวิราคะเป็นต้นก็มีนัยนี้
เหมือนกัน.
อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในนิโรธวารดังต่อไปนี้. ท่านแสดงคำปริยาย
อื่นจากนิโรธศัพท์ แล้วกล่าวว่า อมตา ธาตุ อมตธาตุ. พึงทราบในบทที่
เหลือต่อไป บทว่า นิโรโธ นิพฺพานํ เป็นนิโรธ คือนิพพาน แม้ในบท
ทั้งสองก็เป็นนิพพานเหมือนกัน. บทว่า ทฺวาทส นิสฺสยา มีนิสัย 12 คือ
ทำฉันทะ สัทธา จิต อย่างละ 3 ให้อย่างหนึ่ง ๆ เป็น 4 อย่าง มีวิเวกเป็นต้น
รวมเป็นนิสัย 12. แม้สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ
ก็พึงทราบการประกอบความโดยนัยนี้เหมือนกัน. อนึ่ง พึงทราบว่าท่านกล่าว
ถึงวิรัติอันเป็นไปอยู่ ด้วยสามารถส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย แห่งฌาน

และวิปัสสนา เพราะไม่มีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ ใน
ขณะแห่งฌาน ในขณะแห่งวิปัสสนาทำฌานและวิปัสสนาให้อาศัยกัน. อนึ่ง
พึงทราบว่า วิเวก วิราคะ นิโรธ และปฏินิสสัคคะ แห่งนิวรณ์และทิฏฐิ
ชื่อว่า วิเวกเป็นต้นแห่งวิรัติทั้งหลายอันเป็นอยู่อย่างนั้น. เหมือนที่ท่านกล่าว
ไว้ในอัฏฐกนิบาตว่า ดูก่อนภิกษุ แต่นั้นท่านพึงเจริญสมาธินี้ พร้อมด้วยวิตก
พร้อมด้วยวิจาร พึงเจริญแม้เพียงวิจารไม่มีวิตก พึงเจริญแม้ไม่มีทั้งวิตก
ไม่มีทั้งวิจาร พึงเจริญพร้อมด้วยปีติ พึงเจริญแม้ไม่มีปีติ พึงเจริญแม้สหรคต
ด้วยความพอใจ พึงเจริญแม้สหรคตด้วยอุเบกขา. ท่านกล่าวเมตตาเป็นต้น
และกายานุปัสสนาเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งสมาธิอันเป็นมูลภายในของตนดุจ
กล่าวถึงจตุกฌานและปัญจกฌาน แม้ในบทนี้ก็พึงทราบว่าท่านกล่าวถึงวิรัติ
ด้วยอำนาจส่วนเบื้องต้น และส่วนเบื้องปลายอย่างนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ถือเอาเพียงพยัญชนฉายา (เงาแห่งพยัญชนะ) จึงไม่ควรกล่าวตู่. เพราะ
พระพุทธพจน์ลึกซึ้งมาก พึงเข้าไปหาอาจารย์แล้วเรียนเอาโดยความประสงค์.
แม้ในโพชฌงควาระ พลวาระและอินทริยวาระ ก็พึงทราบความโดย
นัยนี้แล.
จบอรรถกถาวิเวกกถา

ปัญญาวรรค จริยากถา


ว่าด้วยจริยา 8


[715] จริยา ในคำว่า จริยา นี้ มี 8 คือ อิริยาปถจริยา 1
อายตนจริยา 1 สติจริยา 1 สมาธิจริยา 1 ญาณจริยา 1 มรรคจริยา 1
ปัตติจริยา 1 โลกัตถกริยา 1.
ความประพฤติในอิริยาบถ 4 ชื่อว่าอิริยาปถจริยา ความประพฤติ
ในอายตนะภายในเเละภายนอก 6 ชื่อว่าอายตนจริยา ความประพฤติใน
สติปัฏฐาน 4 ชื่อว่าสติจริยา ความประพฤติในฌาน 4 ชื่อว่าสมาธิจริยา
ความประพฤติในอริยสัจ 4 ชื่อว่าญาณจริยา ความประพฤติในอริยมรรค 4
ชื่อว่ามรรคจริยา ความประพฤติในสามัญผล 4 ชื่อว่าปัตติจริยา ความ
ประพฤติอันเป็นส่วนเฉพาะในพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ความประ-
พฤติอันเป็นส่วนเฉพาะในพระปัจเจกพุทธเจ้าความประพฤติอันเป็นส่วนเฉพาะ
ในพระสาวก ชื่อว่าโลกัตถจริยา อิริยาปถจริยาของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย
ความปรารถนา อายตนจริยาของท่านผู้คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย
สติจริยาของท่านผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท สมาธิจริยาของท่านผู้ขวนขวาย
ในอธิจิต ญาณจริยาของท่านผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา มรรคจริยาของท่านผู้
ปฏิบัติชอบ ปัตติจริยา ของท่านผู้บรรลุผลแล้ว และโลกัตถจริยา เป็นส่วน
เฉพาะของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นส่วนเฉพาะของพระปัจเจก-
พุทธเจ้า และเป็นส่วนเฉพาะของพระสาวก จริยา 8 เหล่านี้.